\

การศึกษาประณีต

“การศึกษาประณีต” หลายคนคงแปลกใจ เมื่อได้ยินคำนี้ อาจจะทักท้วงว่า เคยได้ยินแต่คำว่า “เกษตรประณีต”  และอาจอธิบายเพิ่มเติมถึงข้อดีของการทำเกษตรประณีต ขยายความให้พร้อมสรรพ ว่าการทำเกษตรประณีตนั้น เป็นอย่างไร   พ่อผาย สร้อยสระกลาง ปราชญ์ชาวบ้านให้ความเห็นว่า   “การทำเกษตรประณีตในความคิดของตนต้องมี 4 ขั้นตอน  คือ

อย่างที่หนึ่งต้องกำหนดเป้าหมายโดยที่ไม่เอาเงินเป็นตัวตั้ง เอาความสุขใจเป็นตัวตั้ง เอาความมีเป็นตัววัด มีในสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในพื้นที่ พืชผัก ไม้ผลยืนต้น ไม่ใช้สอย สัตว์เลี้ยง ฯลฯ  อย่างที่สองต้องมีการรวมพลัง รวมพลังคนในบ้านและชุมชนเพื่อสร้างอาหารให้พลังแก่ตนเองและคนในแผ่นดิน  อย่างที่สาม ขั้นของการตั้งมั่น คือการรู้จักตัวเอง รู้จักผู้อื่น รู้จักสิ่งแวดล้อมเพื่อเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน อย่างที่สี่ ขั้นตั้งใจ ตั้งใจทำมาหากินเพื่อให้มีอยู่มีกิน พึ่งพาตัวเอง ค่อยๆ ลดหนี้ไป”  (http://baansuan.wordpress.com/2008/02/10/small-is-beautiful/)

นี่คือที่มาของการเปรียบเปรยและเรียก การจัดการศึกษาที่เอาความสุขทางใจเป็นตัวตั้ง เอาการทำงานร่วมกัน ระหว่าง ครู ชุมชน ผู้ปกครอง และโรงเรียน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมดีๆสำหรับเด็กๆในชนบท ว่า “การศึกษาประณีต”

“การศึกษาประณีต” คำๆ นี้ ผมยกมาใช้  เมื่ออ่านแนวคิดของ พ่อผาย สร้อยสระกลาง ข้างต้น ที่กล่าวถึง “เกษตรประณีต” แล้วเปรียบเทียบกับแนวคิด  โครงการเสริมสร้างพลังอำนาจการจัดการศึกษาที่สร้างสุขภาวะในโรงเรียน  ที่ร่วมดำเนินงานระหว่างทีม ครูใหญ่วิเชียร ไชยบังและคณะครู โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา  อ.ลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  และ รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์  คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ และทีมนักวิชาการ แห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ช่างดูเหมือนมีความสอดคล้องกันเหลือเกิน  “การศึกษาที่พยายามทำอย่างประณีต การศึกษาที่มุ่งบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดี  ประคบประหงมให้ปัญญาทั้งภายนอกและภายใน ให้รู้เท่าทันโลกและตนเอง และรู้ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงในสรรพสิ่ง การมุ่งสร้างสุขภาวะทั้งด้าน กาย ใจ จิตวิญญาณ และสิ่งแวดล้อม  ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพ มากกว่าปริมาณ เป็นการศึกษาประณีตอย่างแท้จริง”

การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียน การพัฒนาอย่างองค์รวมนี้ เป็นการช่วยให้เด็กสร้างปัญญาด้วยการลงมือทำ (Learning by Doing) ไม่ได้เกิดจากการวางเงื่อนไข หรือการแสดงพฤติกรรมที่ครูต้องการ (Behaviorism) ปัญญานี้มองมากกว่าการสร้างความรู้ความเข้าใจ (Cognitivist & Constructivism) เพื่อสร้างไอคิว (IQ: Intelligence Quotient) แต่มองรวมถึงปัญญาภายใน  เพื่อสร้างการตระหนักรู้ (Conscious) ในจิตวิญญาณ (SQ: Spiritual Quotient) มีความฉลาดทางอารมณ์ (EQ: Emotional Quotient) การพัฒนาอย่างรอบด้านนี้  เรียกว่า การพัฒนาอย่างองค์รวม (Enactivism)  ในเชิงเอกสารงานวิชาการแล้วมีการกล่าวถึง การพัฒนาอย่างองค์รวม (Enactivism)   ในวารสารวิชาการของอังกฤษคือ  British Journal of Educational Technology  ฉบับที่  41 No 3, 2010  p 403–419  ในชื่อบทความเรื่อง Instructional design and technology grounded in enactivism: A paradigm shift?  โดยนักวิชาการด้านเทคโนโลยีการศึกษา คือ  Qing Li, Bruce Clark and Ian Winchester    ใจความสำคัญของบทความดังกล่าว พูดถึงข้อบกพร่องของการพัฒนาคนแต่เพียงด้านปัญญาภายนอก  โดยขาดการคำนึงถึงการพัฒนาปัญญาภายใน  นักวิชาการทั้งสามจึงได้เสนอแนวคิดในการออกแบบและพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยให้ตระหนักถึงความเป็นธรรมชาติของมนุษย์มี  การให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ที่ใช้สอดคล้องกับการพัฒนาของสมอง (Brain based Learning) การสร้างการความตระหนักรู้จากภายในสู่ภายนอก (Contemplative Education) โดยได้แยกแยะประเด็นต่างๆ ดังนี้  การออกแบบการเรียนการสอน ควรจะสอดคล้องกับ สถานการณ์ในชีวิตจริง (Real World) การพัฒนาจิตใจ (Mind) การพัฒนาสติปัญญา (Cognition) การพัฒนาความรู้ (Knowledge) การพัฒนาที่ไม่แยกส่วน (Dualism) การสอนให้รู้จักเหตุผลและความสัมพันธ์ (Causal Relationship) ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวคิดของโครงการฯ และทางโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่ใช้อยู่ในขณะนี้ อย่างมาก


ดังนั้นผมจึงเห็นว่าการจัดการศึกษาที่คำนึงถึงคุณภาพ  หลายๆด้าน การพัฒนาอย่างองค์รวม  จึงไม่ใช่แค่การศึกษาทั่วๆไป แต่ควรจะกล่าวได้ว่าเป็น  “การจัดการศึกษาอย่างประณีต” เพื่อให้ผู้อ่านมองเห็นภาพของกลุ่มคนที่พยายามจัดการศึกษาอย่างประณีต เมื่อครู ผู้ปกครอง โรงเรียน ชุมชน ได้ร่วมกันพยายามทำสิ่งต่างๆ ด้วยความรัก และตั้งใจ เพื่อสร้างและพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ  เพื่อเป็นทางเลือกให้กับบุตรหลาน  ไม่ต่างอะไรกับการทำเกษตรประณีต ที่ปราชญ์ชาวบ้านพยายามทำเพื่อสร้างคุณค่า และมูลค่าให้กับการเกษตรของไทย

“เกษตรประณีต” และ “การศึกษาประณีต” ยังคงต้องใช้ความอดทน อดกลั้น และความพยายามของทุกภาคส่วน  ในการลงมือทำ และการร่วมมือกันพัฒนา  กว่าที่ผลแห่งการปฏิบัตินี้จะงอกงามและได้รับการยอมรับ  จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมกันทำงาน มาร่วมกันสร้าง “การศึกษาประณีต” ดัง “เกษตรประณีต” กันเถอะครับ

Tweet

นักวิชาการพี่เลี้ยง

Tagged with: การพัฒนาอย่างองค์รวม, การศึกษาประณีต
Posted in บทความ, เรื่องเด่น

Leave a Reply

กรอกอีเมล์เพื่อติดตามข่าวสาร :

เรื่องล่าสุด

No thumbnail available

Running a blog Methods The Help You Succeed

No thumbnail available

Showing Up In The Terrain Operating With All The Greatest Writing a blog Recommendations Readily available

No thumbnail available

Possessing A Difficult Time Putting Together Your Technical Weblog? Try These Tips!

No thumbnail available

Obtain The Assistance You Will Need For Running a blog On this page

No thumbnail available

Blog More intelligent With A Few Of These Great Tips!

No thumbnail available

Turning into The Blog writer You Might Have Always Wanted To Be

No thumbnail available

Blogging Methods The Help You Become Successful